Kaya Thomas ซึ่งเป็นผู้พัฒนาแอพ We Read Too เผยแนวโน้มในวงการวรรณกรรมชาวผิวดำ

204
แชร์ข่าวนี้

ที่แห่งหนึ่งซึ่งคณิตศาสตร์กับวิทยาศาสตร์มาบรรจบกับการอ่านเขียน Kaya Thomas ได้ค้นพบเส้นทางใหม่ในการถ่ายทอดความคิดของเธอ นั่นคือการเขียนโค้ด

“การเขียนโค้ดเป็นการร้อยเรียงเหตุผลและความคิดสร้างสรรค์เข้าด้วยกัน เพราะการลงมือเขียนโค้ดก็ไม่ต่างอะไรกับการแต่งบทกลอนหรือเขียนงานสักชิ้น” Thomas กล่าว “จริงแล้วๆ การเขียนโค้ดก็คือการสร้างบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างสรรค์อย่างหนึ่งนั่นเอง”

Thomas ซึ่งเป็นทั้งนักพัฒนาแอพ iOS ให้กับ แอพ ทำสมาธิอย่าง Calm และนักพัฒนาแอพ อิสระ ใน App Store ได้เปิดตัวแอพ We Read Too ในปี 2014 เพื่อเติมเต็มช่องว่างในโลกวรรณกรรมที่เธอสังเกตเห็นในฐานะวัยรุ่นคนหนึ่ง

“เวลาที่ฉันไปห้องสมุดและร้านหนังสือหรือแม้แต่งานหนังสือที่โรงเรียน ฉันก็มักจะเจอหนังสืออยู่ชุดหนึ่งซึ่งมีอยู่แค่นั้นจริงๆ” Thomas กล่าว “แล้วพอเข้าเรียนมัธยม ฉันก็เริ่มข้องใจและอดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมในบรรดาหนังสือที่ได้อ่านนั้นถึงไม่มีเล่มไหนเลยที่มีตัวละครเป็นคนผิวดำ หรือแต่งโดยนักเขียนผิวดำ ฉันจึงเริ่มศึกษาหาข้อมูลและพบว่าจริงๆ แล้วก็มีหนังสือประเภทที่ว่าอยู่ เพียงแต่ว่าไม่ได้ติดอันดับหนังสือขายดี หรือวางแสดงในห้องสมุดหรือในร้านหนังสือ”

ถึงแม้ Thomas จะไม่รู้จักการเขียนโค้ดเลยจนกระทั่งเข้ามหาวิทยาลัย แต่ช่วงเวลานั้นในสมัยที่เธอเรียนอยู่ชั้นมัธยมคือสิ่งที่ผลักดันให้เธอเริ่มจินตนาการถึงสารบบหนังสือสำหรับเด็กและคนรุ่นหนุ่มสาวที่แต่งโดยนักเขียนผิวดำ

“ตอนที่ได้รู้ว่าใครๆ ก็สามารถสร้างแอพได้นั้นถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากเลยสำหรับฉัน กับการที่ได้เข้าใจว่าฉันเองก็สามารถสร้างบางสิ่งบางอย่างขึ้นมาได้จริงๆ สิ่งที่ใครต่อใครสามารถนำไปใช้และอยู่ในที่ที่ทุกคนเข้าถึงได้” เธอกล่าว “บางครั้งเทคโนโลยีอาจดูเหมือนเป็นกล่องสีดำที่กุมความมหัศจรรย์ไว้ภายใน แต่พอฉีกฝากล่องออกเท่านั้นแหละ ฉันก็รู้เลยว่าฉันสามารถสร้างอะไรสักอย่างที่น่าจะแก้ปัญหาได้”

แต่เทคโนโลยีอย่างเดียวยังไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องความหลากหลายในวรรณกรรมได้ นั่นคือสิ่งที่ Thomas บอกกับเรา “สิ่งที่เทคโนโลยีสามารถทำได้ และความงดงามของเทคโนโลยี คือการเป็นช่องทางที่เข้าถึงง่ายและทำให้คนหันมาใส่ใจปัญหานี้ และการเปิดตัวแอพ We Read Too ใน App Store ก็ช่วยให้ฉันสามารถนำความชื่นชอบในการอ่าน การเขียนโค้ด และการเขียนงานมาใส่รวมเข้าด้วยกันใน แอพ นี้เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับชุมชนวรรณกรรมในแบบที่ใกล้ชิด และทำให้คนหนุ่มสาวอีกมากมายทั่วโลกสามารถเข้าถึงเรื่องราวเหล่านี้ได้”

เนื่องในเดือนแห่งประวัติศาสตร์ชาวผิวดำ Apple ได้ชวน Thomas มาพูดคุยเกี่ยวกับแนวโน้มในวงการวรรณกรรมชาวผิวดำที่เธอสังเกตเห็นในช่วงปีที่ผ่านมา และเธอจะมาเล่าให้ฟังด้วยตัวเองถึงความสำคัญที่นักเขียน ผลงาน และงานเขียนประเภทเหล่านี้มีต่อผู้อ่านวัยเยาว์และคนรุ่นหนุ่มสาวในชุมชนชาวผิวดำ

นิยายวิทยาศาสตร์ แฟนตาซี และการสร้างโลก กับตัวละครผิวดำ

หนังสือนิยายวิทยาศาสตร์และแฟนตาซีที่แต่งโดยนักเขียนผิวดำมาแรงมากในช่วงนี้ โดยมีนักเขียนอย่าง Octavia E. Butler, N.K. Jemisin และ Nnedi Okorafor เป็นผู้บุกเบิก นักเขียนคนโปรดของฉันเลยก็คือ Octavia E. Butler แต่เรื่องที่เธอเขียนอาจไม่เหมาะกับเด็กและคนรุ่นหนุ่มสาวเสมอไป และในปี 2020 เรายังได้เห็นนักเขียนในกลุ่ม Young Adult (YA) ที่มีผลงานเปิดตัวเยี่ยมๆ เช่น “A Song of Wraiths and Ruin” จาก Roseanne A. Brown และ “A Song Below Water” จาก Bethany C. Morrow ส่วนจินตนิยายก็มักช่วยให้ผู้อ่านได้จินตนาการถึงโลกใหม่ ความเป็นไปได้ และอนาคต แต่สิ่งที่สำคัญมากก็คือหนังสือเหล่านี้จะต้องไม่สร้างโลกในแบบที่ไม่มีคนผิวดำอยู่อีกต่อไป และเมื่อมีนักเขียนรวมถึงหนังสือแนวนี้เพิ่มมากขึ้น ผู้อ่านชาวผิวดำก็สามารถจินตนาการและนึกภาพตัวเองในมุมมองใหม่อย่างที่ไม่เคยนึกถึงมาก่อน

นิยายวิทยาศาสตร์ แฟนตาซี และการสร้างโลก กับตัวละครผิวดำ

หนังสือนิยายวิทยาศาสตร์และแฟนตาซีที่แต่งโดยนักเขียนผิวดำมาแรงมากในช่วงนี้ โดยมีนักเขียนอย่าง Octavia E. Butler, N.K. Jemisin และ Nnedi Okorafor เป็นผู้บุกเบิก นักเขียนคนโปรดของฉันเลยก็คือ Octavia E. Butler แต่เรื่องที่เธอเขียนอาจไม่เหมาะกับเด็กและคนรุ่นหนุ่มสาวเสมอไป และในปี 2020 เรายังได้เห็นนักเขียนในกลุ่ม Young Adult (YA) ที่มีผลงานเปิดตัวเยี่ยมๆ เช่น “A Song of Wraiths and Ruin” จาก Roseanne A. Brown และ “A Song Below Water” จาก Bethany C. Morrow ส่วนจินตนิยายก็มักช่วยให้ผู้อ่านได้จินตนาการถึงโลกใหม่ ความเป็นไปได้ และอนาคต แต่สิ่งที่สำคัญมากก็คือหนังสือเหล่านี้จะต้องไม่สร้างโลกในแบบที่ไม่มีคนผิวดำอยู่อีกต่อไป และเมื่อมีนักเขียนรวมถึงหนังสือแนวนี้เพิ่มมากขึ้น ผู้อ่านชาวผิวดำก็สามารถจินตนาการและนึกภาพตัวเองในมุมมองใหม่อย่างที่ไม่เคยนึกถึงมาก่อน

จุดบรรจบของความเป็นชาวผิวดำและรักร่วมเพศในกลุ่ม YA

ในช่วงที่ผ่านมามีนักเขียนผิวดำที่เป็น LGBTQIA เขียนเรื่องราวสำหรับคนหนุ่มสาวที่มีตัวละครเป็น LGBTQIA มากขึ้น อย่างล่าสุดก็มี “Felix Ever After” จาก Kacen Callender, “You Should See Me in a Crown” จาก Leah Johnson และ “Pet” จาก Akwaeke Emezi ซึ่งเป็นเรื่องดีๆ ที่อยากแนะนำให้อ่านสำหรับคนเริ่มสนใจแนวนี้ และถึงแม้ในเชิงวัฒนธรรมเรากำลังอยู่ในช่วงที่การออกมาบอกว่าเป็น LGBTQIA นั้นได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ ในชุมชนชาวผิวดำ แต่ในอดีตที่ผ่านมาเรียกได้ว่าแทบจะไม่มีที่ยืนสำหรับชาว LGBTQIA ผิวดำเลย ดังนั้นการได้เห็นเรื่องราวอย่างวัยรุ่นข้ามเพศ ก็ช่วยสร้างความตระหนักรู้และเป็นตัวแทนของกลุ่มคนเหล่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากจริงๆ และยิ่งมีการเขียนเรื่องราวแบบนี้ออกมามากขึ้นเท่าไหร่ คนหนุ่มสาวในชุมชนชาวผิวดำก็จะยิ่งรู้มากขึ้นเท่านั้นว่าพวกเขามีที่ยืน

หากต้องการดูเรื่องอื่นๆ ในแอพ We Read Too และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Kaya Thomas ลองเข้าไปที่ App Storeและตลอดเดือนกุมภาพันธ์นี้ Apple Books ก็มีคอลเลกชั่นหนังสือและหนังสือเสียงที่คัดสรรมาเพื่อเฉลิมฉลองวัฒนธรรมของชาวผิวดำ ซึ่งสามารถเข้าดูได้ที่ Apple Books Black Voices Collection.


แชร์ข่าวนี้