ปศุสัตว์ขอผู้เลี้ยงสังเกตอาการสัตว์ใกล้ชิด

159
แชร์ข่าวนี้

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ตามที่มีการเสนอข่าวออนไลน์ล่าสุดวันที่ 5 ธันวาคม 2564 ว่าได้กักตัว 2 ฮิปโปในสวนสัตว์เบลเยียมที่ติดโควิด-19 ครั้งแรกของโลกโดยเร่งสอบสวนหาที่มาของเชื้อว่ามาจากไหนโดยรายละเอียดรายงานว่านายฟรานซิสแวร์คัมเมนสัตวแพทย์ประจำสวนสัตว์แอนท์เวิร์บในเบลเยียมเผยว่าฮิปโปโปเตมัส 2 ตัว คือ อิมานิอายุ 14 ปีและเฮอร์มีนอายุ 41 ปีพบผลบวกจากการตรวจหาเชื้อCOVID-19 จึงได้ทำการแยก

 

ฮิปโปโปเตมัสทั้ง 2 ตัวไว้เพื่อเป็นการป้องกันโดยฮิปโปโปเตมัสทั้งสองตัวไม่ได้แสดงอาการป่วยมากมายแต่อย่างใดเพียงแค่มีอาการน้ำมูกไหลออกมามากเท่านั้นโดยเจ้าหน้าที่ของทางสวนสัตว์ได้เร่งสอบสวนโรคเพิ่มเติมถึงสาเหตุและที่มาของการติดเชื้อว่ามาจากที่ใดเนื่องจากเจ้าหน้าที่ของสวนสัตว์ทั้งหมดไม่มีผู้ใดพบผลบวกจากการตรวจหาเชื้อ COVID-19 และกรณีนี้เป็นรายงานการติดเชื้อในสัตว์สปีชีส์นี้เป็นครั้งแรก ซึ่งก่อนหน้ามีรายงานการติดเชื้อจำกัดเฉพาะในสัตว์ตระกูลลิงใหญ่ และตระกูลแมวเท่านั้น

 

 

โคโรน่าไวรัสหรือ COVID-19 เป็นเชื้อไวรัสตระกูลใหญ่ตระกูลหนึ่ง บางชนิดทำให้เกิดโรคคล้ายหวัดในคน บางชนิดทำให้เกิดการเจ็บป่วยในสัตว์ เช่น วัว ควาย อูฐ และค้างคาว นอกจากนี้บางชนิด เช่น โคโรนาไวรัสที่พบในสุนัขและแมวสามารถพบการแพร่ระบาดในสัตว์เท่านั้นและไม่แพร่ระบาดไปยังคน ซึ่ง ณ ตอนนี้ สัตว์เลี้ยง เช่น แมวและสุนัขแมวใหญ่ในสวนสัตว์หรือเขตรักษาพันธุ์กอริลล่าในสวนสัตว์ มิงค์ในฟาร์ม และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ สามารถติดเชื้อ SARS-CoV-2 ได้ แต่ยังไม่มีข้อมูลทั้งหมดว่ามีสัตว์ชนิดอื่นที่สามารถติดเชื้อได้อีกไหม

ในขณะนี้มีรายงานสัตว์ที่ติดเชื้อไวรัสทั่วโลก สัตว์เหล่านี้ส่วนใหญ่ติดเชื้อหลังจากสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ COVID-19 นอกจากนี้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 องค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) มีการแถลงเกี่ยวกับการเฝ้าระวังกวางหางขาวสำหรับ SARS-CoV-2 กล่าวว่าการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เมื่อเร็วๆ นี้ แสดงให้เห็นถึงความชุกภายในประชากรกวางหางขาวในอเมริกาเหนือ และนี่เป็นครั้งแรกที่มีการตรวจพบไวรัสในระดับประชากรในสัตว์ป่า โดยกวางเหล่านี้ไม่แสดงอาการทางคลีนิคของการติดเชื้อ และการค้นพบดังกล่าวอาจทำให้สันนิษฐานได้ว่ากวางหางขาวนั้น มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นแหล่งรังโรคของ SARS-CoV-2 หรือไม่ จึงจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติ่มและประเมินถึงผลกระทบอื่นๆ ที่อาจตามมาได้ ถึงแม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดที่แสดงถึงการแพร่กระจายของ SARS-CoV-2 แต่การแพร่กระจายเชื้อจากมนุษย์เข้าไปสู่ประชากรกวางหางขาวนั้นเกิดขึ้นหลายครั้ง ดังนั้นจึงควรมีการสร้างความตระหนักให้กับนักล่าและผู้ที่อาศัยหรือทำงานกับสัตว์ป่า เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิสัมพันธ์ที่ไม่จำเป็นกับสัตว์ป่าและหลีกเลี่ยงการทิ้งขยะหรือวัตถุของมนุษย์ไว้ในพื้นที่ป่าที่สัตว์ป่าสามารถเข้าถึงได้ แม้จะมีการแพร่กระจายของ SARS-CoV-2 ในประชากรกวางหางขาว แต่ไวรัสก็ไม่ปรากฏว่ามีการกลายพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยให้ความร่วมมือกับ OIE ในการรายงานเหตุการณ์การติดเชื้อ SARS-CoV-2 ในประเทศ

 

โดยประเทศไทยได้ทำการรายงานการติดเชื้อว่ามีการติดเชื้อในสุนัขและแมว โดยทุกเคสที่รายงานนั้นพบการติดเชื้อจากเจ้าของติดเชื้อ COVID-19 ทั้งสิ้น นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีโครงการการเฝ้าระวังการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ในสัตว์เลี้ยงที่มีอาการเสี่ยง เช่น มีการแสดงอาการทางระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น หรือสัตว์เลี้ยงที่มาจากต่างประเทศพร้อมกับเจ้าของ โดยการตรวจวิเคราะห์เพื่อเฝ้าระวังดังกล่าว ทำการตรวจหาเชื้อโดยสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน จากผลการตรวจวิเคราะห์ทุกตัวอย่างให้ผลเป็นลบ

ขอขอบคุณ
แหล่งที่มา : INNnews


แชร์ข่าวนี้