ผอ.สิ่งแวดล้อมภ.11 จี้ทุกวัดปรับปรุงเตาเผาศพ

213
แชร์ข่าวนี้

นายธนัญชัย วรรณสุข ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 11 นครราชสีมา เปิดเผยว่า เตาเผาศพที่ประกาศให้เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่ต้องมีการควบคุม ได้มีการประกาศมาก่อนหน้านี้ ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2546 หรือ 19 ปีที่แล้ว

ซึ่งในสมัยนั้นได้มีบทเฉพาะกาลให้บังคับใช้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาลนคร และเทศบาลเมือง ภายใน 2 ปีนับแต่มีประกาศในราชกิจจาฯ ก็หมายความว่ามีการบังคับใช้จริงตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 หรือ 17 ปีที่แล้ว และเมื่อมีการประกาศฉบับล่าสุดในราชกิจจาฯ

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 จะเป็นเรื่องการปล่อยค่าความทึบแสง เดิมปล่อยได้ไม่เกิน 10 % แต่ให้ปรับปรุงมาตรฐานใหม่ให้เหลือไม่เกิน 7 % ภายใน 1 ปีนับจากมีประกาศในราชกิจจาฯ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ

นอกเหนือจากกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาลนคร และเทศบาลเมือง จะมีผลบังคับใช้ภายใน 3 ปีถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจาฯ ดังนั้น วัดต่างๆ จะต้องเตรียมก่อสร้างหรือปรับปรุงเตาเผา 2 ห้องเผา หรือเตาเผาปลอดมลพิษ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดด้วย

ซึ่งในประเทศไทย มีวัดอยู่ประมาณ 42,000 กว่าวัด แต่มีเตาเผาประมาณ 25,000 กว่าเตา อยู่ในเขตเทศบาลเมือง 8,000 เตา อีก 17,500 เตา จะอยู่นอกเขตเทศบาลเมือง สำหรับจังหวัดนครราชสีมา มีวัดอยู่ราว 2,300 วัด และมีวัดที่มีเตาเผาศพอยู่ประมาณ 2,100 วัด

โดยอยู่ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา อยู่ 20 วัดหรือ 20 เตาเผา ซึ่งได้ปรับเป็นเตาเผาปลอดมลพิษแล้ว 11 เตาใน 11 วัด ยังคงเหลืออีก 9 เตาที่จะต้องเร่งดำเนินการปรับปรุง ในขณะเดียวกันทั้ง 20 เตาเผาใน 20 วัด ก็จะต้องเร่งดำเนินการลดมลพิษ ปล่อยค่าความทึบแสงลงให้เหลือไม่เกิน 7 %

ด้วยภายใน 1 ปี โดยอาจต้องให้สำนักงานพระพุทธศาสนา จัดอบรมให้ความรู้แก่ พระ สัปเหร่อ รวมทั้งประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับการลดขยะ ลดมลพิษจากเตาเผาศพ ด้วยการงดนำเฟอร์นิเจอร์ สิ่งของ เสื้อผ้า ฟูกที่นอน หรือสิ่งอื่นๆ

ใส่ลงไปในเตาเผา ต้องสร้างค่านิยมใหม่ รู้จักคัดแยกและห้ามนำสิ่งที่ไม่จำเป็นใส่ในเตาเผา เพราะจะทำให้เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ จนก่อมลพิษ ทำให้ค่าความทึบแสงเกินกว่าค่ามาตรฐานได้

 

ขอขอบคุณ
แหล่งที่มา : INNnews

 


แชร์ข่าวนี้