พณ.ดันห้องแลปใช้ GIT Standard ตรวจอัญมณีฯ

175
แชร์ข่าวนี้

นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ผลักดันมาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี เครื่องประดับและโลหะมีค่า หรือ GIT Standard ให้ห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า ทั้งในสถาบันการศึกษาและภาคเอกชนนำมาตรฐานดังกล่าวไปใช้

เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพมาตรฐานการตรวจวิเคราะห์สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือให้กับห้องปฏิบัติการและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค แต่ยังส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของประเทศในฐานะศูนย์กลางการค้าและการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับของโลก

ทั้งนี้ หลังจากมอบนโยบายไป ได้รับรายงานผลการดำเนินการ โดยขณะนี้มีห้องปฏิบัติการที่ผ่านเกณฑ์ขึ้นทะเบียนมาตรฐาน GIT Standard แล้วจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ห้องปฏิบัติการอัญมณี คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา , ห้องปฏิบัติการ บริษัท เอ็มทีเอส รีไฟเนอรี่ แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด , ห้องปฏิบัติการ บริษัท พรีเชียส พลัส จำกัด , ห้องปฏิบัติการ บริษัท รีฟายนิ่งโลหะมีค่า จำกัด และห้องปฏิบัติการ บริษัท จีซีไอ แล็บ จำกัด

อย่างไรก็ตาม ได้ขอให้ GIT นำห้องปฏิบัติการที่ผ่านเกณฑ์เหล่านี้ ไปช่วยถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ในการนำมาตรฐานห้องปฏิบัติการไปใช้จริง ให้กับห้องปฏิบัติการจากสถาบันการศึกษา และห้องปฏิบัติการต่างประเทศที่มีสาขาในไทย

ซึ่งล่าสุดได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พ.ย.2565 ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีห้องปฏิบัติการต่างประเทศให้ความสนใจมาเข้ารับการอบรม เช่น GFCO GEM LAB Co., Ltd. จากสวิตเซอร์แลนด์ และ Gemological Institute of America (GIA) จากสหรัฐฯ และได้แสดงความสนใจนำ GIT Standard ไปประยุกต์ใช้ในการอ้างอิงการทดสอบ เพื่อยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับด้วย

อย่างไรก็ตาม ได้ขอให้ GIT นำห้องปฏิบัติการที่ผ่านเกณฑ์เหล่านี้ ไปช่วยถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ในการนำมาตรฐานห้องปฏิบัติการไปใช้จริง ให้กับห้องปฏิบัติการจากสถาบันการศึกษา และห้องปฏิบัติการต่างประเทศที่มีสาขาในไทย

ซึ่งล่าสุดได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พ.ย.2565 ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีห้องปฏิบัติการต่างประเทศให้ความสนใจมาเข้ารับการอบรม เช่น GFCO GEM LAB Co., Ltd. จากสวิตเซอร์แลนด์ และ Gemological Institute of America (GIA) จากสหรัฐฯ และได้แสดงความสนใจนำ GIT Standard ไปประยุกต์ใช้ในการอ้างอิงการทดสอบ เพื่อยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับด้วย

โดย ปัจจุบัน GIT ได้ดำเนินการจัดทำและประกาศใช้มาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจสอบ อัญมณี เครื่องประดับและโลหะมีค่า และมาตรฐานด้านหลักเกณฑ์ จำนวน 22 ขอบข่าย และมีนโยบายการขยายขอบข่ายมาตรฐานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงการนำ GIT Standard ไปสู่ภาคสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อยกระดับมาตรฐานให้กับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทย

 

 

ขอขอบคุณ
แหล่งที่มา : INNnews


แชร์ข่าวนี้