รู้จัก Apps หมอชนะ อีกทางเลือกที่คนทั่วไปตรวจอาการโควิด-19 ด้วยตัวเองส่งผลให้หมอไร้การสัมผัส

245
แชร์ข่าวนี้

ในสถานการณ์ของไงรัสโควิด-19 ทำให้หลายคนมีความเสี่ยงว่าจะติดโรคได้ง่าย รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่รักษาของพวกเรา ทำให้หลายองค์กรคิดค้นทางเลือกทำให้แพทย์ ลดความเสี่ยงหนึ่งในนั้นคือ Application หมอชนะที่น่าใช้งานมากอีกทางเลือกหนึ่ง Application หมอชนะเกิดจากความร่วมมือในหลายภาคส่วน เพื่อให้คนที่อยู่ที่บ้านนั้นสามารถได้รับความรู้และมากขึ้น  

ดร.อนุชิต อนุชิตานุกุล ได้เผยว่า ได้เห็นความสำคัญของบุคลากรทางการแพทย์ และได้ร่วมการทำงานในหลายหลายองค์กร สำคัญ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้าง Software เป็นแบบ Public นอกจากใช้งานแล้วต่อยอดใช้งานในอนาคต 

ประโยชน์ที่ได้รับ 

  • ผู้ป่วยไม่ถูกปฏิเสทการรักษาและมีข้อมูลพร้อม 
  • บุคคลทางการแพทย์จะได้รับประโยชน์ในเรื่องของการรับข้อมูล ผู้ป่วยได้ทันที  
  • ข้อมูลที่แม่นยำ หากเราติดเชื้อและระบบสามารถแจ้งเตือนว่า ท่ามีความเสี่ยงสูงได้ 
  • ข้อมูลที่เข้ามาสามารถจัดการในรูปแบบของการ Proactive และคาดการณ์ได้มากขึ้น 

แต่ทุกคนต้องให้ความร่วมมือกัน และโปรแกรมออกเป็น 2 ส่วน หรือ 2 way communication ได้แก่ 

Front End  

จะเป็นส่วนสำหรับข้อมูลของประชาชนที่เข้าไปบริจาคข้อมูลของตัวเอง

Back End 

โดยข้อมูลที่บุคลากรทางการแพทย์จะได้รับ โดยนำข้อมูลไปวิเคราะห์ 

ความปลอดภัยของโปรแกรมมีจุดเด่น 

  • มีความปลอดภัยสูงเพราะลงทะเบียนแบบนิรนาม แสดงผลแบบไม่ระบุตัวตน 
  • จำนวนผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น จะทำให้มีฐานข้อมูลแน่นยำ และทำงานแบบ Realtime  

ระบบ Server ก็จะมีการแยกเก็บเป็นส่วนๆ ระหว่างการลทะเบียน โดยภาพจะเก็บมนมือถือ และบุคลากรทางการแพทย์จะนำไปประมวลผล 

ข้อมูลจะเก็บไว้ 30 วันล่าสุด และข้อมูลจะทำลายทิ้งและไม่ใช้ในเรื่องของอื่นนอกจากในเรื่องของ COVID-19 และจะมีการประมวลผลตรวจโดยบุคลากรทั้งหมด 9 คน  

การใช้เทคโนโลยี GPS โดยต้องอาศัยในการใช้งาน โดยจะมีระยะเพียงพอ 5 เมตร ระบบไม่ติดตามภายในอาคารได้ แต่จะไม่ได้จับข้อมูลลึกเช่น กินข้าวอะไร เป็นต้น และติดตามผู้ที่อยู่ได้ ทำให้ปลอดภัยและแม่นยำ โดยทำงานร่วมกับ Bluetooth  

Application หมอชนะ จะแบ่งกลุ่มผู้ใช้แบบ 4 สีได้แก่ ซึ่งเป็นแบบเดียวของกระทรวงสาธารณสุข 

  • สีเขียวและมีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งเป็นคนที่ไม่มีอาการและไม่ได้สัมผัสกับผู้ที่ไปต่างประเทศในประเทศกลุ่มเสี่ยง 
  • สีเหลือง ก็มีความเสี่ยงน้อย อาจจะมีอาการไข้หวัดแต่ไม่เคยไปต่างประเทศ 
  • สีส้ม ก็มีความเสี่ย อาจจะต้องกักตัวอยู่บ้าน 
  • สีแดง คือกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมาก และมีประวัติ หรือไปสัมผัสคนเคยไปต่างประเทศ ก็จะทำให้เข้าสู่กระบวนการรักษา 

การกำหนดสีเป็นเรื่องที่อ่อนไหว จะต้องมีกฎเกณฑ์ที่จะต้องให้ผู้ใช้งานรู้ตัวคือ การปรับพฤติกรรม และทำให้เกิดความยืดหยุ่น มากขึ้น และระบบจะมีความการประเมินของสีส้ม, เหลือง, โดย Apps จะรองรับทั้ง Android และ iOS 

วิธีการใช้งาน ให้โหลดโปรแกรม ผ่านทาง Google Play Store (Android) และ Apps Store (iOS) วิธีใช้งานง่ายโดยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน 

  • อ่านข้อตกลงให้เรียบร้อย
  • ถ่ายภาพ 
  • ระบบจะขอเปิดทั้ง GPS และ Bluetooth
  • ให้เปิดแจ้งเตือนเพื่อหมอจะส่งการแจ้งเตือนให้คุณว่าควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร
  • กรอกแบบสอบถามซึ่งจะมีไม่กี่ข้อ แต่สำคัญ เพราะ คุณต้องกรอกข้อมูลที่เป็นจริงเท่านั้น!!!
  • ระบบจะแสดงผลว่าเป็นข้อมูลเป็นสีอะไรที่ได้แจ้งไปขั้นตอน และแสดงผล QR Code คุณสามารถใช้ QR Code แสดงข้อมูลกับทางการแพทย์ได้เลย  

หมายเหตุ : แนะนำว่าข้อมูลกรอกต้องเป็นความจริง เผื่อเกิดท่านพบอาการ จะสามารถตรวจได้อีก และคุณสามารถวินิจฉัยตัวเองได้เรื่อย แต่แนะนำว่า ทำเมื่อคิดว่าจะเป็นหรือสักเดือนละครั้ง เพื่อเป็นการอัปเดต เฉพาะ สถานะ เขียว หรือ เหลือง เพราะแดง กับส้ม จะมีหน่วยงานติดต่อหรือหากเข้าสถานะดังกล่าว ควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาจะดีที่สุด

นอกจากสำรวจตัวเราเองได้แล้ว Application นี้ยังสามารถช่วยคุณตรวจและดูข้อมูลว่าคนที่คุณติดต่อสถานะการติดไวรัสเป็นอย่างไร ซึ่งแค่สแกนก็จะขึ้นคำแนะนำได้ 

ซึ่งข้อมูลทั้งหมด DDC iLab จะเป็น AI เพื่อทำให้ทีมสืบสวนโรคนั้นทำงานได้ดีมากขึ้นระบาดวิทยาได้ง่ายมากขึ้น ไม่ต้องออกไปพบปะกับใคร ทำให้แพทย์ปลอดภัยมากขึ้น ดังนั้นการใช้มือถือ และ Application ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้ และได้ข้อมูลที่ทำให้วิเคราะห์และรักษาได้ทัน 

DDC iLab เป็นโปรแกรมสำหรับกรมควบคุมโรค ที่สามารถดูข้อมูลรายชื่อผู้ติดเชื้อ ได้โดยทีมสอบสวนโรค จะได้เห็นทุกวัน และสามารถหาเส้นทางการสำรวจโรคที่ละเอียดมากขึ้น ข้อมูลนำมาจาก Application หมอชนะ และ อื่นๆ ในอนาคต ซึ่งเป็นฐานข้อมูลของกรมควบคุมโรค

ดังนั้น Application หมอชนะ ก็เป็นตัวช่วยที่สำคัญและแนะนำให้คนประชาชนทั่วไปควรจะใช้งานปิดท้ายด้วยการถามตอบดังนี้ 

Q: ข้อมูลที่ตรวจจะมีความน่าเชื่อถือแค่ไหน 

A: ความน่าเชื่อถือต้องอยู่กับประชาชนที่ต้องกรอกข้อมูลตามความจริง 

Q: การเก็บข้อมูลของ Apps อยู่นานแค่ไหนและเผยแพร่ต่อไหม 

A: เก็บแค่ 30 วัน หลังจากนั้นทำลายทิ้งไม่มีการเผยแพร่ออก 

Q: ถ้าจบเรื่องของโควิด 19 จะยุติการทำไหม 

A: ยุติแค่ Application แต่ว่า ถือว่าเป็นเรื่องของการเปิดสัญญาประชาคมก็จะเกิดความร่วมมืออีกในอนาคต 


แชร์ข่าวนี้