“อลงกรณ์” เล็งพลิกวิกฤตเป็นโอกาส อีก 3 เดือนทั่วโลกขาดอาหาร ดันส่งออกสินค้าเกษตร

249
แชร์ข่าวนี้

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า ทางกระทรวงเกษตรฯ ได้มองเห็นโอกาสในวิกฤต พ้องกับองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO,องค์การอนามัยโลก (WHO) ,องค์การการค้าโลก (WTO) รวมทั้งเลขาธิการแห่งสหประชาชาติ วิเคราะห์ตรงกันว่าอีก 3 เดือนข้างหน้าจะเกิดการขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรงในโลกโดยเฉพาะประเทศที่ผลิตอาหารไม่ได้ จึงต้องทำแผนสำรองอาหาร และแผนแรงการผลิตเพื่อที่จะใช้โอกาสในการช่วยชาวโลกและประเทศต่างๆที่ขาดแคลนอาหาร และจะกลับมาฟื้นตัวใหม่ก่อนที่ไวรัสระบาดอย่างน้อยจะต้องใช้ระยะเวลา 2 ปี

โดยภาพที่เริ่มเห็นกันบ้างแล้ว ตามซุปเปอร์มาร์เก็ต ในหลายๆประเทศเริ่มขาดแคลน ส่วนใหญ่เกิดจากการไปกักตุนสินค้าของผู้บริโภค และการเติมสต็อกสินค้าทำได้ไม่ทันการ เป็นปัญหาด้านโลจิสติกส์
ครั้งนี้ต่างจากช่วงปี 2551 (วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์) ที่ช่วงนั้นเกิดภาวะผลผลิตตกต่ำซ้อนวิกฤตการเงิน ทำให้อาหารขาดแคลน แต่ครั้งนี้ยังมีแหล่งอาหารสำรอง เพียงแต่อยู่ไม่ถูกที่ ถูกเวลา ด้วยข้อจำกัดการขนส่งทั้งในประเทศ, ขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศที่ผลิตอาหารเองไม่ได้ จะได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะค่าขนส่งก็แพงขึ้น และส่งนานขึ้น
แต่ ที่ต้องระวังคือ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะบริษัทแปรรูปอาหาร ล่าสุดก็มีผู้แปรรูปเนื้อรายใหญ่ของสหรัฐฯ ,พนักงานติดเชื้อโควิด-19 จนต้องสั่งปิดไลน์การผลิตไป 2 สัปดาห์

ทั้งนี้หากปัญหาลุกลาม จนกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจ อาจทำให้ผู้ผลิตอาหารบางรายประสบปัญหาทางการเงิน ก็อาจส่งผลต่อปริมาณอุปทานของอาหารได้

ด้วยฉายา “ครัวของโลก”ไทยส่งออกอาหารรั้งอันดับ 2 ในเอเชีย รองจากจีน และเป็นอันดับที่ 11 ของโลก ด้วยมูลค่าส่งออก ทั้งสิ้น 9.9 แสนล้านบาท ทำให้ไทย สามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้ เพราะเราเป็นแหล่งผลิตอาหารเกษตรที่สำคัญที่สุดของโลก และได้รับผลกระทบจากโควิดน้อยกว่าประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารรายอื่นของโลก

อย่างไรก็ตาม ไทย ต้องทำแผนสำรองอาหาร และแผนแรงการผลิต เพื่อที่จะผลิตอาหารทั้งเอาไว้ใช้บริโภคในประเทศ และส่งออกไปช่วยชาวโลก ซึ่งสถานการณ์คงยืดเยื้ออีกสักพัก อย่างที่เราพอทราบกันแล้วว่า กว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวใหม่ก่อนที่ไวรัสระบาดอย่างน้อยจะต้องใช้ระยะเวลา 2 ปี เราจึงเป็นแหล่งผลิตอาหารเกษตรที่สำคัญที่สุดของโลก และได้รับผลกระทบจากโควิดน้อยกว่าประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารรายอื่นของโลก

ที่สำคัญ คือ การช่วยเหลือต้นน้ำ อย่างเกษตรฯ ให้สามารถอยู่รอดได้ จำเป็นที่จะต้องรักษาฐานการผลิตภาคเกษตรไม่ว่าจะเป็นพืช ปศุสัตว์ ประมง ซึ่งสุดท้าย ไทยก็จะคว้าโอกาสนี้เอาไว้ได้ อย่างไรก็ตาม ก็ต้องคำนึงถึงการบริโภคในประเทศด้วย

อย่างเช่น รัฐบาลของเวียดนามประกาศให้จำกัดปริมาณการส่งออกข้าวในช่วง 2 เดือนนี้ เฉลี่ยเดือนละ 400,000 ตัน จากปกติที่เวียดนามจะส่งออกเดือนละ 600,000-650,000 ตัน จากผลผลิตข้าวฤดูกาลใหญ่ของเวียดนามกำลังจะหมดฤดูในช่วงเมษายนนี้ จึงต้องการให้มีสต๊อกสำหรับบริโภคภายในในช่วงการระบาดโควิด-19

ส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เริ่มมีพ่อค้าข้าว เบี้ยวหนี้ โดยมี บริษัท ฟินิกซ์ โบรกเกอร์รายใหญ่ของโลกในตลาดแอฟริกา ผิดนัดชำระหนี้ผู้ส่งออกไทย 5 ราย รวมมูลค่าประมาณ 300 ล้านบาท
ก็เป็นวิกฤต ที่ซ้อนอยู่ในโอกาส อีกที คือ อยากขายเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังต้องระวังว่าลูกค้าจะโกงไหม?

สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย ต้องบอกว่าเวลานี้เป็นโอกาสของผู้ขาย แต่ไม่ว่าโอกาสจะดีขนาดไหน ก็ควรยึดหลัก เงินมาก่อน แล้วค่อยส่งของให้ ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ในช่วงเวลาที่ทั่วโลกวิกฤตหนักอย่างนี้


แชร์ข่าวนี้