เปิดภาพ New Normal คนไทยกับวิถีชีวิตแบบใหม่แปลกตา ในยุคโควิด-19

248
People eat in between plastic partitions, set up in an effort to contain any spread of the COVID-19 coronavirus, at the Penguin Eat Shabu hotpot restaurant in Bangkok on May 5, 2020. (Photo by Lillian SUWANRUMPHA / AFP)
แชร์ข่าวนี้

คำว่า “New Normal” เริ่มถูกนำมาใช้มากขึ้นในช่วงเวลาที่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จำกัดความเป็นภาษาไทยได้ว่า ความปกติในรูปแบบใหม่ ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี 2551 โดย Bill Gross นักลงทุนในตราสารหนี้ชื่อดัง (bond guru) ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท Pacific Investment Management (PIMCO) ซึ่งเป็นการให้นิยามถึงสภาวะเศรษฐกิจโลก ที่จะมีอัตราการเติบโตชะลอตัวลงจากในอดีตและเข้าสู่อัตราการเติบโตเฉลี่ยระดับใหม่ที่ต่ำกว่าเดิม ควบคู่ไปกับอัตราการว่างงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังเกิดวิกฤติทางการเงินในสหรัฐฯ

ดังนั้น คำว่า New Normal จึงมักถูกนำมาใช้กับ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ถดถอยลง และคาดว่าจะไม่กลับมาเติบโตได้ในระดับเดิมอีกต่อไป

สำหรับในโลกที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีการนำคำว่า New Normal มาใช้อีกครั้ง แต่ขยายวงกว้างไปมากกว่าเศรษฐกิจโลก ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจ การตลาด การใช้ชีวิต ไปจนถึงภาคสังคม โดยรวมหมายถึง การใช้ชีวิตแบบใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ และจะกลายเป็นเรื่องปกติไปนับจากนี้

ตัวอย่างที่ New Normal ที่เกิดขึ้นแล้วในสังคมไทย สิ่งที่เห็นได้ชัดคือการสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ที่บัดนี้กลายเป็นสิ่งจำเป็น เป็นเรื่องปกติเหมือนกับการสวมรองเท้าออกจากบ้าน แม้แต่พระสงฆ์ก็ต้องสวมใส่หน้ากากออกมาบิณฑบาต ซึ่งมาตรการข้อกำหนดของหลายๆ สถานที่ ออกกฎห้ามผู้ที่ไม่สวมหน้ากากอนามัยเข้าใช้บริการ คล้ายเป็นการบังคับไปโดยปริยาย 

นอกจากหน้ากากอนามัยแล้ว อีกหนึ่งอุปกรณ์ป้องกันที่คนไทยเพิ่งจะได้ทำความรู้จักและนำมาใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆ จังๆ ก็คือ หน้ากาก Face Shield ถ้าย้อนไปสัก 2 เดือนก่อนอาจจะเป็นภาพที่ดูแปลกปะระหลาดในสายตาคนรอบข้าง แต่ตอนนี้กลับเป็นภาพปกติสามัญ ราวกับเป็นอวัยวะส่วนหนึ่ง แม้แต่นางรำที่ศาลพระพรหมเอราวัณ ก็ยังสวมใส่ขณะทำการแสดง

โดยหลังจากตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 ลดลง และมีการประกาศต่อเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีก 1 เดือน คือ ตั้งแต่วันที่ 1-31 พฤษภาคม 2563 ทาง ศบค. ได้ประกาศมาตรการผ่อนปรนบางกิจการและกิจกรรม ให้กลับมาเปิดได้ เช่น ร้านจำหน่ายอาหาร สวนสาธารณะ ร้านตัดผม แต่ต้องอยู่ภายใต้มาตรการป้องกันของ ศบค. อย่างเคร่งครัด 

ร้านอาหารหลายร้านมีการปรับตัวตั้งแต่ถูกสั่งปิดครั้งแรก เปลี่ยนเป็นให้บริการเดลิเวอรี่แทนการนั่งรับประทานที่ร้าน และเมื่อได้กลับมาเปิดใหม่ ก็มีมาตรการใหม่เช่น ให้นั่งได้โต๊ะละ 1 คน หรือบางร้านหากต้องการให้โต๊ะหนึ่งนั่งได้หลายคน ก็จะมีการนำพลาสติกมาทำเป็นฉากกั้น หม้อใครหม้อมัน ชามใครชามมัน ไม่ใช้ร่วมกัน


แชร์ข่าวนี้