เกษตรกรแปลงใหญ่กล้วยไม้ ปรับตัวสู้โควิด-19 รุกตลาดออนไลน์

216
แชร์ข่าวนี้

New Normal หรือ ความปกติใหม่ท่ามกลางชีวิตวิถีใหม่ คือภาวการณ์ที่คนไทยต้องปรับตัวรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ท่ามกลางความไม่แน่นอนว่า สถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติเมื่อใด ดังนั้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรจากการระบาดของเชื้อโควิด-19 และลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดต่างประเทศ รวมถึงอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนโดยทั่วไปในการเลือกซื้อสินค้าที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะ “กล้วยไม้” ที่มาจากการส่งเสริมภายใต้ “ระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่กล้วยไม้” ของกรมส่งเสริมการเกษตร ทั้ง 11 แปลง ใน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครปฐม 6 แปลง จังหวัดสมุทรสาคร 3 แปลง จังหวัดนนทบุรี 1 แปลง และกรุงเทพมหานคร 1 แปลง ซึ่งเน้นการปลูกเลี้ยง จนได้กล้วยไม้คุณภาพมาตรฐานส่งออก เช่น ไม่มีตำหนิจากโรคแมลง ก้านช่อยาวไม่น้อยกว่า 35 เซนติเมตร ดอกในช่อบานไม่น้อยกว่า 4 ดอก เป็นต้น 

sanook_thumbnail_728x437(66)

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่าจากการระบาดของเชื้อโควิด-19 กล้วยไม้เป็นพืชหนึ่งที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีการระบาดของโรค ทำให้มีมาตรการ lock down ลดหรืองดเที่ยวบิน รวมทั้งการขนส่งทางรถ ส่งผลให้การส่งออกกล้วยไม้ ช่วงเดือนมกราคม – เมษายน 2563  มีปริมาณลดลงร้อยละ 40.14 และมูลค่าลดลงร้อยละ 31.67 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562

233298

ดังนั้น แนวทางการดำเนินการของกรมส่งเสริมการเกษตร คือ ส่งเสริมตลาดกล้วยไม้ภายในประเทศให้กว้างขวางขึ้น เน้นให้เกษตรกรกระจายผลผลิตกล้วยไม้ไทยคุณภาพดีสู่ผู้บริโภคโดยตรง ผ่านช่องทางตลาดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายผ่านระบบonline เช่น ไปรษณีย์ไทย (ThailandPostmart.com)24 Shopping เว็ปไซต์www. ตลาดเกษตรกรออนไลน์.comเป็นต้น รวมถึงการจัดหาสถานที่จำหน่าย จัดทำสื่อ Infographic ประชาสัมพันธ์เพื่อชี้เป้าแหล่งผลิตทั้งกล้วยไม้ตัดดอกและกล้วยไม้ต้น พร้อมเปิดจำหน่ายในรูปแบบ Pre-Order ผ่านการประชาสัมพันธ์ทางสื่อโซเชียลซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดกิจกรรมและผลิตสื่อเผยแพร่การใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เช่น จัดแจกัน จัดช่อบูเก้ ร้อยพวงมาลัย ประดับตกแต่งสถานที่ เป็นต้น ซึ่งได้รับความร่วมมือจากแปลงใหญ่กล้วยไม้ตำบลนราภิรมย์ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม  และแปลงใหญ่กล้วยไม้ตำบลท่าไม้ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาครเป็นอย่างดี

30054

สำหรับการ Pre-Order ได้ใช้ช่องทาง Line Official Account ชื่อ DOAE Orchids/Line ในการประชาสัมพันธ์สินค้าถึงผู้บริโภคโดยตรง เพื่อให้สั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าก่อนทำการจัดส่งในวันโกน เดือนละ 4 วัน ที่จุดกระจายสินค้า อาคารเบญจสิริกิติ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรุงเทพมหานคร ขณะลูกค้าที่สั่งซื้อจำนวนมาก และอยู่ใกล้จุดกระจายสินค้า เกษตรกรจะมีบริการส่งให้ถึงที่ 

“สินค้าที่จำหน่าย เกษตรกรได้มีการปรับรูปแบบให้เหมาะกับผู้บริโภค เช่น ทำแบบช่อดอกกล้วยไม้กำสกุลหวาย สกุลม็อคคารากำละ 12 – 15 บาท พวงมาลัยเริ่มต้นที่พวงละ 20 บาท ต้นกล้วยไม้ และไม้ดอกไม้ประดับอื่นเช่น กล้วยไม้สกุลมอคคารา สกุลช้าง สกุลออนซีเดียม รองเท้านารี เอื้องแคระ เคราฤาษี ทิวแลนเซีย เฟิร์น เป็นต้น”

“ผลการดำเนินงานจำหน่ายสินค้ากล้วยไม้แปลงใหญ่ในรูปแบบ Pre-Orderพบว่ามีเสียงตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี มีลูกค้าประจำและลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งลูกค้าส่วนใหญ่เป็นบุคลากรหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และผู้สนใจ รวมทั้งที่รับไปจำหน่ายต่อ เนื่องจากเป็นการจำหน่ายจากเกษตรกรโดยตรง ไม่ผ่านคนกลาง ระยะเวลาขนส่งจากสวนถึงลูกค้าใช้เวลาสั้นกว่า สินค้าจึงคงความสด และมีอายุการใช้งานนานกว่า”

10

นายเข้มแข็ง กล่าวต่อไปว่า เกษตรกรแปลงใหญ่ที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ต่างพึงพอใจในรายได้และลักษณะการจำหน่าย เนื่องจากจำหน่ายได้ราคาดีกว่าที่สวน เช่น ขายที่สวนราคาช่อละ 30 – 70 สตางค์ ขณะที่จำหน่ายตรงให้ผู้บริโภค ช่อละ 2 – 2.50 บาท อีกทั้งการรวมคำสั่งซื้อล่วงหน้าของลูกค้าและให้เกษตรกรนำสินค้าทั้งหมดมาส่งยังจุดกระจายสินค้าเพียงจุดเดียว ทำให้ประหยัดต้นทุนค่าขนส่ง มีจำนวนสินค้าและรายได้แน่นอน ลดความเสี่ยง ประหยัดเวลา เนื่องจากสามารถเลือกวันจำหน่ายได้ และไม่ต้องเสียเวลาเพื่อรอลูกค้ามาซื้อ

59047

“จากการจำหน่ายที่ผ่านมา ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2563 จนถึงปัจจุบัน (12 มิ.ย.2563) จำนวน 10 ครั้ง มียอดจำหน่ายสะสม 116,952 บาท หรือเฉลี่ยครั้งละประมาณ 11,692 บาทสำหรับการดำเนินงานระยะต่อไป กรมส่งเสริมการเกษตรจะส่งเสริมให้เกษตรกรแปลงใหญ่ที่นำร่องดำเนินการต่อด้วยตัวเองทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นหาช่องทางการจำหน่าย ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์สินค้า การรวบรวมและสรุปยอดสั่งซื้อในแต่ละรอบ การจัดเตรียมส่งสินค้า ฯลฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างความเข็มแข็ง รวมทั้งขยายผลไปสู่แปลงใหญ่อื่นๆ ที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป” อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว

ขอขอบคุณ
แหล่งที่มา : sanook


แชร์ข่าวนี้