ผู้ประกันตนมาตรา 33 เตรียมจ่ายเงินสมทบประกันสังคม 2567 เพิ่ม

208
แชร์ข่าวนี้

เงินสมทบประกันสังคม 2567 เตรียมปรับเพดานเพิ่ม ผู้ประกันตนมาตรา 33 เตรียมจ่ายเงินเพิ่มสูงสุด 1,150 บาทต่อเดือน

กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงสุด ที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. … เพื่อปรับปรุงเพดานค่าจ้างขั้นต่ำ-ขั้นสูง ที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ของผู้ประกันตนมาตรา 33 อัตราใหม่ ส่งผลให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้น

นายจ้างและรัฐบาลจะต้องส่งเงินสมทบสูงขึ้นหรือไม่

นายจ้างและรัฐบาลจะต้องส่งเงินสมทบในอัตรา 5% และ 2.75% ของค่าจ้าง ที่ไม่เกินเพดานค่าจ้างใหม่ตามที่กฎหมายกำหนด

ผู้ประกันตนที่ค่าจ้างต่ำกว่า 15,000 บาทจะได้รับผลกระทบหรือไม่

ไม่ได้รับผลกระทบ โดยผู้ประกันตนจะนำส่งเงินสมทบ 5% ของค่าจ้างตามจริงทื่นายจ้างรายงานต่อสำนักงานประกันสังคม เช่น กรณีค่าจ้างเดือนละ 10,000 บาท ผู้ประกันตนจะนำส่งเงินสมทบเดือนละ 500 บาท (5% x 10,000 = 500 บาท)

การส่งเงินสมทบประกันสังคมแบบใหม่จ่ายกี่บาท เริ่มเมื่อไหร่?

ร่างกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว จะปรับฐานค่าจ้างขั้นสูงจากเดิม 15,000 บาท แบบค่อยเป็นค่อยไป เป็นสูงสุด 23,000 บาท กำหนดอัตราใหม่ตามกรอบเวลาดังนี้

ค่าจ้างรายเดือน เงินสมทบที่จ่ายแต่ละเดือน (บาท/เดือน)
ปัจจุบัน ปี 2567-2569 ปี 2570-2572 ปี 2573 เป็นต้นไป
ค่าจ้าง 5,000 บาท 250 250 250 250
ค่าจ้าง 10,000 บาท 500 500 500 500
ค่าจ้าง 15,000 บาท 750 750 750 750
ค่าจ้าง 17,500 บาท 750 875 875 875
ค่าจ้าง 20,000 บาท 750 875 1,000 1,000
ค่าจ้าง 23,000 บาท 750 875 1,000 1,150
  • ปี 2567- ปี 2569 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 17,500 บาท จ่ายประกันสังคมสูงสุดที่ 875 บาท
  • ปี 2570- ปี 2572 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 20,000 บาท จ่ายเงินประกันสังคมสูงสุดที่ 1,000 บาท
  • ปี 2573 เป็นต้นไป จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 23,000 บาท จ่ายเงินประกันสังคมสูงสุดที่ 1,150 บาท

2023-02-14-08_46_09_1940920

สิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นเมื่อปรับเพิ่มเพดานค่าจ้าง

ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้นด้วย เพราะฐานที่ใช้ในการคำนวณเพื่อรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวจะคำนวณจากค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ดังนี้

1. กรณีเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ เป็นระยะเวลาตามวันที่แพทย์สั่งให้หยุดงาน

2. กรณีคลอดบุตร เงินสงเคราะห์หยุดงาน 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ เป็นระยะเวลา 90 วัน

3. กรณีทุพพลภาพ เงินทดแทนการขาดรายได้

  • 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ เป็นระยะเวลาตลอดชีวิต กรณีทุพพลภาพรุนแรง
  • 30% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ เป็นระยะเวลา 180 เดือน กรณีทุพพลภาพไม่รุนแรง

4. กรณีเสียชีวิต เงินสงเคราะห์ตายจ่ายให้ทายาท 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบเป็นระยะเวลา 4 หรือ 12 เดือน แล้วแต่กรณี

5. กรณีว่างงาน เงินทดแทนการขาดรายได้

  • เนื่องจากถูกเลิกจ้าง 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน
  • เนื่องจากสมัครใจลาออก 30% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
  • เนื่องจากสิ้นสุดสัญญาจ้าง 30% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
  • เนื่องจากเหตุสุดวิสัย 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน

6. เงินบำนาญชราภาพ ไม่ต่ำกว่า 20% ของค่าจ้าง ตั้งแต่เกษียณจากการทำงานไปจนตลอดชีวิต โดยผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบ 15 ปี จะได้รับบำนาญ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ส่วนผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับบำนาญเพิ่มขึ้น 1.5% ต่อปี ที่ส่งเงินสมทบเพิ่มเติม เช่น หากส่งเงินสมทบ 25 ปี จะได้รับบำนาญ 20% + (1.5% x 10) = 35% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

7. เงินบำเหน็จชราภาพ กรณีส่งเงินสมทบไม่ครบ 15 ปี ผู้ประกันตนจะได้รับบำเหน็จตามจำนวนเงินสมทบที่นำส่ง รวมผลตอบแทนการลงทุน

2023-02-14-08_46_09_1940921

ตัวอย่าง สิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นเมื่อปรับเพิ่มเพดานค่าจ้าง

สิทธิประโยชน์เงินทดแทน เงินทดแทนที่ได้รับ
ปัจจุบัน ปี 2567-2569 ปี 2570-2572 ปี 2573 เป็นต้นไป
(15,000 บาท) (17,500 บาท) (20,000 บาท) (23,000 บาท)
เจ็บป่วย 250 ต่อวัน 292 ต่อวัน 333 ต่อวัน 383 ต่อวัน
คลอดบุตร 22,500 ต่อครั้ง 26,250 ต่อครั้ง 30,000 ต่อครั้ง 34,500 ต่อครั้ง
ทุพพลภาพรุนแรง 7,500 ต่อเดือน 8,750 ต่อเดือน 10,000 ต่อเดือน 11,500 ต่อเดือน
เสียชีวิต 30,000 บาท 35,000 บาท 40,000 บาท 46,000 บาท
ถูกเลิกจ้าง 7,500 ต่อเดือน 8,750 ต่อเดือน 10,000 ต่อเดือน 11,500 ต่อเดือน
บำนาญ (ส่งเงิน 15 ปี)* 3,000 ต่อเดือน 3,500 ต่อเดือน 4,000 ต่อเดือน 4,500 ต่อเดือน
บำนาญ (ส่งเงิน 25 ปี)* 5,250 ต่อเดือน 6,125 ต่อเดือน 7,000 ต่อเดือน 8,050 ต่อเดือน

*คำนวณบนสมมติฐานค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายเมื่อเกษียณอายุเท่ากับเพดานค่าจ้างตามตาราง

สำหรับขั้นตอนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประกันสังคมเมื่อกลางปี 2565 จากนั้นกระทรวงแรงงานได้ยกร่างกฎกระทรวง และนำร่างไปเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 1 ผ่านเว็บไซต์ระบบกลางกฎหมาย law.go.th เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2566-28 ก.พ. 2566 ที่ผ่านมา

ซึ่งมีผู้ร่วมเสนอความเห็นทั้งหมด 55,584 คน เมื่อปิดรับฟังความคิดเห็น จะยังไม่มีผลบังคับใช้ โดยเป็นเพียงเพื่อประกอบการพิจารณาแก้ไขกฎหมายเท่านั้น ซึ่งขั้นตอนต่อไป จะมีการดำเนินการแก้ไขร่างกฎหมายตามข้อเสนอแนะ โดยเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการ ตามกระบวนการนิติบัญญัติต่อไป

ขอขอบคุณ
แหล่งที่มา : sanook


แชร์ข่าวนี้