ผลงาน “บิ๊กตู่” เปลี่ยนผ่านสู่บัตรทองพรีเมียมสำเร็จ

163
แชร์ข่าวนี้

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เร่งขับเคลื่อนให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ เท่าเทียมและทั่วถึง หลักประกันสขุภาพไทยได้เปลี่ยนผ่านบัตรทอง หรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้กลายเป็น บัตรทองพรีเมี่ยม ยกระดับการบริการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ครอบคลุมและทลายข้อจำกัดต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลอย่างแท้จริง

สำหรับบัตรทองพรีเมียมในยุคของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ให้สิทธิประโยชน์ที่ตอบโจทย์มากมาย เช่น เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ในหน่วยบริการสาธารณสุขทุกที่ โดยไม่เก็บค่ารักษาพยาบาลภายใน 72 ชั่วโมงหรือพ้นภาวะวิกฤตรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19 ฟรี

โดยสามารถเข้ารักษาในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ ผู้ป่วยโรคมะเร็งรับบริการที่ไหนก็ได้ ย้ายหน่วยบริการได้ทันที ไม่ต้องรอ 15 วัน ให้สิทธิฟอกไตฟรี เพิ่มบริการสำหรับแม่และเด็ก มะเร็งปากมดลูก การตรวจคัดกรอง การเพิ่มวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก รักษาโรคมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลือง โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซียาต้านไวรัส HIV และยังลดภาระการเดินทางไปสถานพยาบาลของประชาชนลดความแออัดใน โรงพยาบาลขนาดใหญ่

สามารถรับยาที่ร้านขายยาแผนปัจจุบันใกล้ เป็นต้น จึงขอเชิญชวนประชาชนสมัครรับสิทธิบัตรทองพรีเมียม และสมัครให้บุตรหลาน เพื่อเลือกหน่วยบริการ ซึ่งสามารถสมัครได้ตั้งแต่วัยแรกกเกิด ซึ่งในปี 2566 ได้มีการเพิ่มสิทธิใหม่ที่ได้มากกว่าเดิมได้แก่ การดูแลภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด, บริการทันตกรรม Vital Pulp Therapy หรือการรักษาเนื้อเยื่อในฟันกรามแท้, บริการรากฟันเทียม, บริการห้องฉุกเฉิน คุณภาพภาครัฐ, ผ้าอ้อมผู้ใหญ่และแผ่นรองซับ, บริการยาป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวี และเพิ่มยาจำเป็นแต่มีราคาแพง ในกลุ่มบัญชียา จ (2) จำนวน 14 รายการ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่า รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ บริหารกองทุนบัตรทอง ให้ดีกว่าเดิมและเพิ่มสิทธิรักษาโรคให้ครอบคลุมพรีเมียม รวดเร็วพร้อมกับมีงบประมาณใช้จ่ายรองรับตามความต้องการของประชาขนได้อย่างมั่นคง มีวิสัยทัศน์ผู้นำที่พร้อมเดินหน้าและเพิ่มสิทธิให้ประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งที่ผ่านมาสปสช. ดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ สปสช.มาแล้ว 5 ระยะ คือ ระยะที่ 1 (ปี 46-50) สร้างระบบด้านหลักประกันสุขภาพให้กับคนไทย ระยะที่ 2 (51–54) เพิ่มประสิทธิภาพ

โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ระยะที่ 3 (ปี55–59) ความยั่งยืนของระบบฯ ครอบคลุมทุกคนบนผืนแผ่นดินไทย และระยะที่ 4 (ปี60-65) ประชาชนเข้าถึงบริการ การเงินการคลังมั่นคง ดำรงธรรมาภิบาล  และล่าสุด คือระยะที่ 5 (ปี66-70) โดยมุ่งเน้นให้ ทุกคนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินไทย ได้รับความคุ้มครองหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้าด้วยความมั่นใจ

ขอขอบคุณ
แหล่งที่มา : INNnews


แชร์ข่าวนี้