เปิดประวัติ “สพรั่ง กัลยาณมิตร” 1 ในแกนนำคณะรัฐประหาร 49 เผยชีวิตหลังเกษียณ

199
แชร์ข่าวนี้

เปิดประวัติ “พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร” หลังเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดในวัย 75 ปี จากอดีตบิ๊ก คมช. กลายเป็นปลีกวิเวกไม่ยุ่งการเมือง-ทหาร

จากกรณีการเสียชีวิตของ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม และอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เสียชีวิตอย่างสงบ จากโรคมะเร็งปอด ถือเป็นการปิดตำนาน 1 ในนายทหารที่มีบทบาทสำคัญในเหตุรัฐประหารรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 2549

เปิดประวัติ ประวัติ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร อดีตบิ๊ก คมช.

สำหรับ ประวัติ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร เป็นชาวจังหวัดลำปาง เกิดวันที่ 8 กรกฎาคม 2491 เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 7 จบนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 18 จบวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 43 จบการศึกษาปริญญาโทการจัดการภาครัฐและเอกชนมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สมรสกับ วิภาดา กัลยาณมิตร ปัจจุบันเป็นคณะกรรมการสมาคมแม่บ้านทหารบก

พล.อ.สพรั่ง เริ่มรับราชการเมื่อ พ.ศ. 2512 เป็นผู้บังคับหมวดปืนเล็ก ร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 3 กรมผสมที่ 4 เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 4, ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 19, ผู้บังคับการกรมนักเรียนโรงเรียนเตรียมทหาร, ผู้บังคับการกรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

ข้ามมาเป็นผู้บัญชากองพลกองพลทหารราบที่ 15 เมื่อ พ.ศ. 2540, ดำรงตำแหน่งแม่ทัพน้อยที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2546, ตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2548

และเมื่อ พ.ศ. 2549 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (คปค.) หลังการยึดอำนาจ หลังการยึดอำนาจ รัฐประหาร 19 กันยายน และเป็น 1 ในสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ขณะที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นประธานของ คมช.

หลังจากนั้นขึ้นเป็น 5 เสือ ทบ.ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก แต่พลาดหวังไม่ได้ขึ้นเป็น ผบ.ทบ. จากนั้น พล.อ.สพรั่ง ก็ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายกับครอบครัวที่บ้านพัก ย่านพหลโยธิน ตั้งแต่เกษียณอายุราชการ จนปัจจุบันอายุ 75 ปี.

ด้าน เฟซบุ๊ก วาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าวอาวุโสสายทหาร เปิดเผยว่า หลังจากที่ พล.อ. สพรั่ง หายตัวไปจากวงการทหาร และแวดวงกองทัพ นับตั้งแต่เกษียณราชการ เมื่อตุลาคม 2551 โดยกลับไปใช้ชีวิตที่ลำปาง – เชียงใหม่ กับครอบครัว

ท่ามกลางกระแสข่าวลือ ต่าง ๆ นานา ถึงสาเหตุที่หันหลังให้กองทัพและการเมืองหลังจากที่ผิดหวังจากเก้าอี้ ผบ.ทบ. และถูกแต่งตั้งเป็นรองปลัดกลาโหมก่อนเกษียณ โดยตำแหน่ง ผบ.ทบ. คนใหม่ในยุคนั้นคือ พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา แม่ทัพภาค 1 ตอนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นกำลังหลักในการรัฐประหาร

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :Wassana Nanuam

ภาพ :thaitv5hd.

ขอขอบคุณ
แหล่งที่มา : sanook


แชร์ข่าวนี้